สันป่าข่อย
หมุดหมายสำคัญ
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
ย่านสันป่าข่อย ถนนเจริญเมืองนับเป็นพื้นที่สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเมืองเชียงใหม่เพราะเป็นพื้นที่ในช่วงรอยต่อที่เมืองมีการพัฒนาจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นรัฐจารีตของสยาม
มรดกทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุ
ประวัติศาสตร์สันป่าข่อย
สันป่าข่อย และ ถนนเจริญเมือง ย่านที่มีประวัติศาสตร์หลายยุคหลายสมัยตามการพัฒนาเมือง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงย่านได้จากไทม์ไลน์นี้
ยุคที่ 1 เริ่มต้นความศิวิไลส์จากตะวันตก
-
พ.ศ. 2410 ศาสนาจารย์แมคกิลวารีมาถึงเชียงใหม่
-
พ.ศ. 2411 สร้างวัดสันป่าข่อย สมัยพระเจ้ากาวิโลรส
-
พ.ศ. 2416 สนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 1
-
พ.ศ. 2418 ศาสนาจารย์แมคกิลวารีสร้างบ้านไม้สักฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงอย่างทันสมัย
-
พ.ศ. 2419-21 โรงเรียนสตรีของมิชชั่นได้รับการจัดตั้งขึ้น
-
พ.ศ. 2426 สัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 2
-
พ.ศ. 2426 ตั้งไปรษณีย์สยาม
-
พ.ศ. 2427 บริษัทบอร์เนียวตั้งสำนักงานที่ตอนเหนือถัดจากบ้านศาสนาจารย์แมคกิลวารี
- พ.ศ. 2428 นายแพทย์ชี้คเป็นตัวแทน บริษัทบอเนียว สร้างโรงรักษาผู้ป่วย โรงเลื่อยและอู่ต่อเรือริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก และตั้งระบบไปรษณีย์เชียงใหม่ โดย รองกงสุลอังกฤษ
- พ.ศ. 2429 จัดตั้งกรมป่าไม้ที่เชียงใหม่
- พ.ศ. 2430 โรงไฟฟ้าบ้านเด่น สร้างและเปิดใช้งาน
- พ.ศ. 2430 โรงเรียนชายของมิชชันนารีเปิดที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง(โรงเรียนวังสิงคำ)
- พ.ศ. 2431 ตั้งโรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก (กาชาดในปัจจบัน)
- พ.ศ. 2433 มิชชันนารีอเมริกันสร้าง Church of Chiang Mai โบสถ์ โรงเรียนและบ้านพักบาทหลวง และการบ้านกงสุลอังกฤษอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำปิง
- พ.ศ. 2434 บริษัทบอมเบย์เบอมาร์ตั้งสำนักงาน
- พ.ศ. 2434 มิชชันนารีได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้น
- พ.ศ. 2437 จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
-
ยุคที่ 2 ก้าวสู่เศรษฐกิจรัฐอาณานิคมสยาม
- พ.ศ. 2437 จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
- พ.ศ. 2440 รวมเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองลำพูน เมืองลำปาง เมืองแพร่ เมืองน่านและเมืองเถินเป็นมณฑลพายัพ โดยมิชชันนารีมีโบสถ์ไม้สัก โรงเรียนและบ้านพักอย่างดี
- พ.ศ. 2441 ก่อตั้งสโมสรยิมคานา โดย มิชชันนารี
- พ.ศ. 2442 นโยบาย “น้ำต้อง กองต๋ำ” ขยายถนนเชื่อมเมืองรอง
- (สันนิฐาน) ถนนเจริญเมือง เริ่มสร้าง
- ถนนเชียงใหม่-ลำพูน เส้นยางนา เริ่มสร้าง
- พ.ศ. 2444 ออกกฎหมายที่ว่าด้วยกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน
- พ.ศ.2440-45 หลวงอนุสารสุนทรสร้างกลุ่มบ้านตึกแถวแบบโคโลเนียล ที่ถนนเจริญเมือง
- พ.ศ. 2446 จัดตั้งกรมบัญชาการทหารบก มณฑลพายัพ
- พ.ศ. 2448 โรงเรียนชายวังสิงห์คำย้ายไปที่ของบริษัทค้าไม้อังกฤษฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงเปลี่ยนชื่อเป็น ปริ๊นซ์รอแยล
- พ.ศ. 2453 สร้างตลาดวโรรส หรือ “กาดหลวง”
- พ.ศ. 2459 เปิดโรงเรียนแพทย์แห่งแรก
- พ.ศ. 2450-60 ตลาดสันป่าข่อย หรือ กาดพระลอแ (สันนิฐาน) สร้างในช่วง
- พ.ศ. 2464 สถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดใช้ 1 มกราคม
ยุคที่ 3 เข้าสู่เศรษฐกิจโลก
- พ.ศ. 2450-60 ตลาดสันป่าข่อย หรือ กาดพระลอ (สันนิฐาน) สร้างในช่วง
- พ.ศ. 2464 สถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดใช้ 1 มกราคม
- พ.ศ. 2467 ย้ายโรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่นมาฝั่งตะวันออก เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลแมคคอมิค
- พ.ศ. 2470 แบงก์สยามกัมมาจลเปิดสาขาเชียงใหม่ หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่
- พ.ศ. 2472 สร้างวิหารวัดสันป่าข่อย
- พ.ศ. 2474 โอนย้ายการไฟฟ้าสุขาภิบาล โรงไฟฟ้าบ้านเด่นมาเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- พ.ศ. 2475 คณะราษฎรปฏิวัติ ยุติการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- พ.ศ. 2476 เชียงใหม่กลายเป็นจังหวัดของประเทศสยาม
- พ.ศ.2477 ก่อตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทยโดยคนไทยที่เป็น โปรแตสแตนท์ คริสเตียน
- พ.ศ. 2478 ยกสุขาภิบาลเชียงใหม่ ขึ้นเป็น เทศบาลนครเชียงใหม่
- พ.ศ. 2483 นายกเทศมนตรีคนแรกและ สส คนแรกของเชียงใหม่มาจากสันป่าข่อย
- สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่ม ญี่ปุ่นตั้งค่ายทหารที่เชียงใหม่ มิชชันนารีหนีกลับอเมริกา
- พ.ศ. 2495 พระราชบัญญัติการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน
- ขยายพัฒนาเส้นทางถนน เชียงใหม่-สันกำแพง และสร้างเชียงใหม่-ฮอด-ลำปาง-ลำพูน
- พ.ศ. 2498 สถานีวิทยุแห่งแรกของเชียงใหม่ เปิดในค่ายกาวิละ
- พ.ศ. 2502 ตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ถนนฮัวลาย
- พ.ศ. 2508 เริ่มขยายถนนซุปเปอร์ไฮเวย์และทางหลวงเชียงใหม่-ลำปาง
- พ.ศ. 2509 สร้างสถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 1 สถานีขนส่งช้างเผือก
- พ.ศ. 2510 โรงภาพยนตร์ชินทัศนีย์เปิดให้บริการ
- พ.ศ. 2511 ไฟไหม้ตลาดวโรรส หรือ “กาดหลวง”
- พ.ศ. 2515 สร้างตลาดวโรรส หรือ “กาดหลวง”ใหม่
- พ.ศ. 2526 สร้างสถานีขนส่งแห่งที่ 2 ที่ถนนแก้วนวรัตน์
เชียงใหม่สมัยใหม่
ย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุในฐานะจุดเริ่มต้นของเมืองเชียงใหม่สมัยใหม่ เพราะเป็นพื้นที่ที่รองรับการเข้ามาของชาวตะวันตกและมิชชันนารี รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการล่าอาณานิคม การค้าไม้สัก และศาสนาคริสต์
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุ ในช่วงแรก พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นชุมชนชาวตะวันตกและมิชชันนารี แต่ต่อมา บทบาทของชาวตะวันตกและมิชชันนารีลดลง ชุมชนคนจีนเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุกลายเป็นย่านการค้าและธุรกิจที่สำคัญของเชียงใหม่
San Pa Koi -
Charoen Muang District
Small Business Hub
Charoen Muang may be home to a diverse range of small businesses such as cafes, boutiques, and local crafts shops that contribute to the local economy.
Delicious Eats
Charoen Muang may have some unique local delicacies, food stalls, or restaurants serving mouth-watering dishes that are worth exploring.
Heritage Trail
Charoen Muang may have some cultural and historic landmarks, temples, or museums that reflect the district’s history and cultural heritage.
Relaxing Retreat
Charoen Muang may have some parks, gardens, or lakeside areas that offer a peaceful and relaxing atmosphere for residents and visitors to unwind and recharge.
ค้นพบสันป่าข่อย-เจริญเมือง
มรดกทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุ พื้นที่แห่งนี้ยังคงมีอาคารบ้านเรือนแบบตะวันตกและแบบพื้นถิ่นปรากฏให้เห็นอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของย่านชุมชนแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
ย้อนอ่านประวัติศาสตร์ “อาคารสำคัญย่านสันป่าข่อย”
พื้นที่ย่านสันป่าข่อยที่ชาวเชียงใหม่สามารถนึกถึงได้นั้นอาจมีความต่อเนื่องตั้งแต่บริเวณ ถนนเจริญเมือง (ถนนสันกำแพงเดิม) ตัดกับถนนเจริญราษฎร์และบรรจบกับสะพานนวรัฐ ไปทางเหนือรวมพื้นที่ย่านวัดเกตุจรดถนนแก้วนวรัตน์และลงไปใต้จนถึงยิมคาน่าและโรงไฟฟ้าบ้านเด่น ตลอดจนพื้นที่ชุมชนที่พักอาศัยโดยรอบเขตค่ายกาวิละ อาคารกลุ่มแรกที่เริ่มสร้างขึ้นในย่านสันป่าข่อยและเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง กลุ่มอาคารของคณะมิชชันนารี อเมริกันเพรสบีสทีเรียน ที่เข้ามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ แต่ได้มีการปลูกสร้างบ้านพักมิชชันนารีและโบสถ์คริสตจักรแห่งแรกซึ่งเป็นอาคารถาวรสร้างด้วยไม้สักบนพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงในช่วงปี พ.ศ.๒๔๓๐-๒๔๓๔ โดยที่ อาคารโบสถ์คริสต์หลังนี้เป็นหลังเดียวที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน(Chiang Mai Christian School) ซึ่งนับเป็นอาคารรูปแบบตะวันตกกลุ่มแรกในเมืองเชียงใหม่และได้รับการยกย่องเป็นสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โบสถ์หลังนี้นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบชนบทอเมริกัน (American Country style) โดยในสมัยช่วงเวลานี้เริ่มมีการเข้ามาของบริษัทรับสัมปทานตัดไม้สักจากประเทศอาณานิคมตะวันตก ทำให้โครงสร้างอาคารยุคนี้มีวัสดุหลักคือไม้สักแปรรูปที่หาได้ง่ายเพราะบริษัทค้าไม้และโรงเลื่อยนั้นตั้งอยู่ในบริเวณริมแม่น้ำช่วงนี้ ต่อมา คือ กลุ่มอาคารที่พักอาศัยและเป็นโรงเรียนในระยะแรก คือ กลุ่มอาคารของมิชชันนารีที่ใช้สอนหนังสือไปด้วยในระยะแรกก่อนสร้างอาคารโรงเรียนซึ่งเป็นอาคารไม้สักเช่นเดียวกัน โดยเป็นบ้านไม้สองชั้นขนาดใหญ่ความยาว ๙-๑๐…
กิจกรรม Type Walk สันป่าข่อย
กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก สโมสรอักษรศิลป์และอักขรศิลป์เชียงใหม่ (TAC) นำโดยคุณหมูใหญ่ คมสัน ไชยวงค์ ร่วมกับคณะทำงานไจสันป่าข่อย ในการเดินดูงานออกแบบตัวหนังสือจากป้าย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และยุคสมัยย่านสันป่าข่อย จากการสำรวจลักษณะการออกแบบตัวอักษรย่านสันป่าข่อย เบื้องต้น สามารถสรุปหมวดหมู่ตัวอักษรในบริบทได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ กลุ่ม Traditional หรือ Loop Terminal หรือ ตัวอักษรที่มีการเขียนหัวแบบไทย กลุ่ม Modern หรือ Loopless หรือ ตัวอักษรที่มีการปรับให้ทันสมัยละเว้นการเขียนหัว กลุ่ม…
McClanahan จากโรงหมอฝรั่ง ถึงคาเฟ่ในอาคารมิชชันนารี บทสัมภาษณ์ คุณชวาล ไชยเศรษฐ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ที่ไปที่มาของร้าน McClanahan “พื้นที่ตรงนี้ และตัวอาคาร McClanahan เป็นของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย พื้นที่โดยประมาณก็จะเริ่มจากอาคารนี้สิ้นสุดตรงระริน จินดา เวลล์เนส สปา รีสอร์ท สำหรับอาคารหลังนี้เมื่อปีแล้ว ทางมูลนิธิฯได้มอบหมายให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเป็นผู้ดูแล ทางทีมผู้บริหารโรงพยาบาลได้มีการ ประชุมกันไอเดียเริ่มแรกสำหรับอาคารหลังนี้มี 2 แบบ คือ 1.ทำคลินิก ซึ่งมีส่วนที่ต้องคิดกันต่อว่าจะเป็นคลินิกอะไร และเรื่องมาตรฐานที่จะตามมา แบบที่ 2 คือทำเป็นร้านกาแฟ พอพิจารณากันอยู่ระยะหนึ่งจึงได้ข้อสรุปว่าให้เปิดเป็นร้านกาแฟจะดีกว่า วัตถุประสงค์ก็เพื่อประกาศเผยแพร่เรื่องราวของคริสเตียน พร้อมกับหารายได้ เรื่องราวที่บอกเล่ากับอาคารหลังนี้เน้นไปที่พันธกิจของมูลนิธิฯ โดยนำภาพอาคารจากหลายๆ พื้นที่มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการภาพถ่าย…
ตึกอนุสาร วันนี้ถึงอนาคต สนทนากับคุณมิ้กกี้ ทายาทหลวงอนุสารสุนทรรุ่นที่ 5 และผู้ดูแลตึกอนุสาร
ก่อนที่จะมารับหน้าที่ดูแลตึกอนุสาร คุณมิ้กกี้ทำงานด้านไหนมาก่อน จริงๆ เพิ่งกลับมาได้แค่ 2 ปีค่ะ ก่อนหน้านั้นทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นบริษัท support ทางด้านภาษา เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย ช่วย support เรื่องงานล่ามงานแปลเอกสาร business facing ส่วนเหตุผลที่กลับมาเชียงใหม่คือก่อนหน้านั้น ทางบ้านก็ชวนให้กลับมาเชียงใหม่ตั้งนานแล้ว แต่เรายังไม่พร้อมเพราะว่าลูกยังเล็ก และมีบริษัทที่ต้องดูแลทำงานกับคนต่างชาติตอนนั้นต้อง face to face เป็นหลัก แต่พอเจอโควิดสถานการณ์เปลี่ยนไปคนหันไปใช้ออนไลน์กันมากขึ้น เราก็เลยมีความรู้สึกว่าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องอยู่กรุงเทพฯ แล้ว เป็นเวลาที่ดีที่จะกลับเชียงใหม่ ตอนแรกที่กลับมา ก็ไม่ได้วางแผนอะไรมาก…