San Pa Koi -
Charoen Muang
Creative-Learning
District
Unlock Your Potential with San Pa Koi
Where Creativity Meets Learning!
Creative-Learning
in San Pa Koi - Charoen Muang
Unlock Your Potential
San Pa Koi is a place where students can explore their creativity and unleash their potential. We believe that every student has a unique gift, and we aim to help them discover and develop their talents. Whether it's through art, music, science, or technology, we provide a supportive and nurturing environment that encourages students to grow and excel.
Read moreWhere Learning is an Adventure!
We believe that learning should be an adventure, and we strive to make every experience exciting and memorable. From hands-on experiments to outdoor exploration, we provide a range of activities that engage students and inspire their curiosity. With our experienced instructors and innovative curriculum, students can discover new passions and build the skills they need for success.
Read moreSan Pa Koi -
Charoen Muang District
Small Business Hub
Charoen Muang may be home to a diverse range of small businesses such as cafes, boutiques, and local crafts shops that contribute to the local economy.
Delicious Eats
Charoen Muang may have some unique local delicacies, food stalls, or restaurants serving mouth-watering dishes that are worth exploring.
Heritage Trail
Charoen Muang may have some cultural and historic landmarks, temples, or museums that reflect the district’s history and cultural heritage.
Relaxing Retreat
Charoen Muang may have some parks, gardens, or lakeside areas that offer a peaceful and relaxing atmosphere for residents and visitors to unwind and recharge.
Discovering San Pa Koi - Charoen Muang
San Pa Koi in Charoen Muang is a hub of creativity and learning that inspires students to explore their passions and develop their skills. With its innovative approach to education and supportive environment, San Pa Koi offers a unique and refreshing learning experience.
ย้อนอ่านประวัติศาสตร์ “อาคารสำคัญย่านสันป่าข่อย”
พื้นที่ย่านสันป่าข่อยที่ชาวเชียงใหม่สามารถนึกถึงได้นั้นอาจมีความต่อเนื่องตั้งแต่บริเวณ ถนนเจริญเมือง (ถนนสันกำแพงเดิม) ตัดกับถนนเจริญราษฎร์และบรรจบกับสะพานนวรัฐ ไปทางเหนือรวมพื้นที่ย่านวัดเกตุจรดถนนแก้วนวรัตน์และลงไปใต้จนถึงยิมคาน่าและโรงไฟฟ้าบ้านเด่น ตลอดจนพื้นที่ชุมชนที่พักอาศัยโดยรอบเขตค่ายกาวิละ อาคารกลุ่มแรกที่เริ่มสร้างขึ้นในย่านสันป่าข่อยและเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง กลุ่มอาคารของคณะมิชชันนารี อเมริกันเพรสบีสทีเรียน ที่เข้ามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ แต่ได้มีการปลูกสร้างบ้านพักมิชชันนารีและโบสถ์คริสตจักรแห่งแรกซึ่งเป็นอาคารถาวรสร้างด้วยไม้สักบนพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงในช่วงปี พ.ศ.๒๔๓๐-๒๔๓๔ โดยที่ อาคารโบสถ์คริสต์หลังนี้เป็นหลังเดียวที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน(Chiang Mai Christian School) ซึ่งนับเป็นอาคารรูปแบบตะวันตกกลุ่มแรกในเมืองเชียงใหม่และได้รับการยกย่องเป็นสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โบสถ์หลังนี้นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบชนบทอเมริกัน (American Country style) โดยในสมัยช่วงเวลานี้เริ่มมีการเข้ามาของบริษัทรับสัมปทานตัดไม้สักจากประเทศอาณานิคมตะวันตก ทำให้โครงสร้างอาคารยุคนี้มีวัสดุหลักคือไม้สักแปรรูปที่หาได้ง่ายเพราะบริษัทค้าไม้และโรงเลื่อยนั้นตั้งอยู่ในบริเวณริมแม่น้ำช่วงนี้ ต่อมา คือ กลุ่มอาคารที่พักอาศัยและเป็นโรงเรียนในระยะแรก คือ กลุ่มอาคารของมิชชันนารีที่ใช้สอนหนังสือไปด้วยในระยะแรกก่อนสร้างอาคารโรงเรียนซึ่งเป็นอาคารไม้สักเช่นเดียวกัน โดยเป็นบ้านไม้สองชั้นขนาดใหญ่ความยาว ๙-๑๐ ช่วงเสา กว้าง ๗-๘ ช่วงเสา ที่มีหลังคาแบบปั้นหยายาวคลุมระเบียง หน้าต่างสูงยาวและเปิดออก โดยใช้ระเบียงเป็นพื้นที่สอนหนังสือชั่วคราว ซึ่งกลุ่มอาคารไม้เหล่านี้เคยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ซึ่งเป็นโบสถ์คริสตจักรที่ ๑ ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนผสมระหว่างระบบโครงสร้างไม้แบบตะวันตกและเรือนพื้นถิ่นที่ถ่ายเทลมสะดวก พื้นที่ย่านสันป่าข่อยในอดีตเป็นทุ่งนา แต่ต่อมากลายเป็นชุมชนขึ้นมา โดยเฉพาะด้านหลังของวัดเกตุเป็นย่านที่มีบ้านไม้สักหลายหลังและพื้นที่บริเวณนี้เป็นของบริษัทบริติชบอร์เนียวมาก่อนซึ่งต่อมากลายเป็นที่ของโรงเรียนดาราวิทยาลัยและโรงพยาบาลแมคคอร์มิค บางส่วนของพื้นที่นี้ยังมีกลุ่มที่ทำการของบริษัทบริติชบอร์เนียว เรียกกันว่า บ้านบอร์เนียวนั้นเป็นอาคารไม้สักซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่เนื่องจากเป็นที่พบปะของชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงสำคัญในสยามยุคนั้น[1] กลุ่มอาคารไม้ในพื้นที่ ๕ ไร่นี้ ต่อมาได้รับการบูรณะกลายเป็นโรงแรม บ้านร้อยเสา 137 Pillars และยังคงลักษณะสำคัญของเรือนไม้สักตะวันตกที่ผสมความเป็นอาคารพื้นถิ่นของย่านนี้ไว้ได้ นอกจากนี้ใช้ยังมีเรือนแถวไม้สำหรับค้าขายที่คนเชียงใหม่เรียกกันว่า เรือนแพ หรือ เฮือนแพ…
กิจกรรม Type Walk สันป่าข่อย
กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก สโมสรอักษรศิลป์และอักขรศิลป์เชียงใหม่ (TAC) นำโดยคุณหมูใหญ่ คมสัน ไชยวงค์ ร่วมกับคณะทำงานไจสันป่าข่อย ในการเดินดูงานออกแบบตัวหนังสือจากป้าย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และยุคสมัยย่านสันป่าข่อย จากการสำรวจลักษณะการออกแบบตัวอักษรย่านสันป่าข่อย เบื้องต้น สามารถสรุปหมวดหมู่ตัวอักษรในบริบทได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ กลุ่ม Traditional หรือ Loop Terminal หรือ ตัวอักษรที่มีการเขียนหัวแบบไทย กลุ่ม Modern หรือ Loopless หรือ ตัวอักษรที่มีการปรับให้ทันสมัยละเว้นการเขียนหัว กลุ่ม Latin Type หรือ หมวดหมู่ตัวอักษรลาติน โดยคุณลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนในย่านสันป่าข่อย คือ ตัวอักษรแบบ ‘โป้งไม้’ หรือ wood type (Chinesse style) ผสมผสานกับตัวอักษรแบบสมัยใหม่ อันเป็นการสะท้อน ประวัติศาสตร์ของย่านสันป่าข่อยที่มีทั้งความเก่าและใหม่ผสมผสานในพื้นที่ ขอบพระคุณสถานที่ อาคารอนุสาร - Anusarn Building Chiang Mai และร้านกาแฟ Building…
McClanahan จากโรงหมอฝรั่ง ถึงคาเฟ่ในอาคารมิชชันนารี บทสัมภาษณ์ คุณชวาล ไชยเศรษฐ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ที่ไปที่มาของร้าน McClanahan “พื้นที่ตรงนี้ และตัวอาคาร McClanahan เป็นของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย พื้นที่โดยประมาณก็จะเริ่มจากอาคารนี้สิ้นสุดตรงระริน จินดา เวลล์เนส สปา รีสอร์ท สำหรับอาคารหลังนี้เมื่อปีแล้ว ทางมูลนิธิฯได้มอบหมายให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิคเป็นผู้ดูแล ทางทีมผู้บริหารโรงพยาบาลได้มีการ ประชุมกันไอเดียเริ่มแรกสำหรับอาคารหลังนี้มี 2 แบบ คือ 1.ทำคลินิก ซึ่งมีส่วนที่ต้องคิดกันต่อว่าจะเป็นคลินิกอะไร และเรื่องมาตรฐานที่จะตามมา แบบที่ 2 คือทำเป็นร้านกาแฟ พอพิจารณากันอยู่ระยะหนึ่งจึงได้ข้อสรุปว่าให้เปิดเป็นร้านกาแฟจะดีกว่า วัตถุประสงค์ก็เพื่อประกาศเผยแพร่เรื่องราวของคริสเตียน พร้อมกับหารายได้ เรื่องราวที่บอกเล่ากับอาคารหลังนี้เน้นไปที่พันธกิจของมูลนิธิฯ โดยนำภาพอาคารจากหลายๆ พื้นที่มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการภาพถ่าย ร้านนี้เปิดเมื่อ 9 ธันวาคม 2022 จะครบหนึ่งปีอีกไม่กี่เดือนนี้แล้วครับ” ประวัติอาคาร และที่ดินติดหัวสะพานนวรัฐ “เริ่มต้นจากเจ้ากาวิละได้มอบที่ดินผืนนี้ให้กับคณะมิชชนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียนได้พักอาศัย พื้นที่แถวนี้จึงทำหน้าที่ทั้งเป็นที่พัก และเป็นสถานที่รักษา จำหน่ายยา และเผยแพร่ศาสนาแก่คนท้องถิ่น อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เพื่อเป็น Health Center รักษาและจำหน่ายยา พอมีโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ทางมิชชันนารีก็มอบอาคารหลังนี้ให้ทางโรงพยาบาลดูแลต่อน่าจะราวๆ ปีค.ศ. 1950 จากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นคลังห้องสมุด และมีโรงพิมพ์หนังสือคริสเตียน…
ตึกอนุสาร วันนี้ถึงอนาคต สนทนากับคุณมิ้กกี้ ทายาทหลวงอนุสารสุนทรรุ่นที่ 5 และผู้ดูแลตึกอนุสาร
ก่อนที่จะมารับหน้าที่ดูแลตึกอนุสาร คุณมิ้กกี้ทำงานด้านไหนมาก่อน จริงๆ เพิ่งกลับมาได้แค่ 2 ปีค่ะ ก่อนหน้านั้นทำงานที่กรุงเทพฯ เป็นบริษัท support ทางด้านภาษา เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย ช่วย support เรื่องงานล่ามงานแปลเอกสาร business facing ส่วนเหตุผลที่กลับมาเชียงใหม่คือก่อนหน้านั้น ทางบ้านก็ชวนให้กลับมาเชียงใหม่ตั้งนานแล้ว แต่เรายังไม่พร้อมเพราะว่าลูกยังเล็ก และมีบริษัทที่ต้องดูแลทำงานกับคนต่างชาติตอนนั้นต้อง face to face เป็นหลัก แต่พอเจอโควิดสถานการณ์เปลี่ยนไปคนหันไปใช้ออนไลน์กันมากขึ้น เราก็เลยมีความรู้สึกว่าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องอยู่กรุงเทพฯ แล้ว เป็นเวลาที่ดีที่จะกลับเชียงใหม่ ตอนแรกที่กลับมา ก็ไม่ได้วางแผนอะไรมาก หลักๆ เลยก็มาช่วยดูธุรกิจหลักของที่บ้าน คืองานดูแลตลาดวโรรส ตลาดคำเที่ยง และตลาดต้นลำไย ระหว่างที่ดูแลสามตลาดก็เห็นว่าคุณพ่อ (คุณสมยศ นิมมานเหมินท์) ก็อยู่ดูแลตึกอนุสารมานาน เราก็มองว่า จริงๆที่ตรงนี้ก็มีเสน่ห์ของมัน คิดว่าน่าจะสามารถเป็นเป็นพื้นที่ให้เช่า แล้วก็จะช่วยเป็นราย และได้ช่วยงานคุณพ่อไปได้ด้วย ก็เลยเข้ามาช่วยพัฒนาตรงนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น วิธีคิดว่าจะเปิดให้เช่าตึกจนถึงวันนี้คือเกือบจะสองปีแล้ว ใช่ค่ะ ช่วงที่เริ่มน่าจะประมาณ พ.ย 64 ผู้เช่ารายแรก ๆ คือ ร้านวิถีลาบ…
The Future of San Pa Koi - Charoen Muang
สันป่าข่อย และตึกอนุสาร ความทรงจำจากจากยุคหลวงอนุสารสุนทร ถึงคุณสมยศ นิมมานเหมินท์
ขอคุณสมยศช่วยเล่าถึงความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับตึกอนุสาร และย่านสันป่าข่อย ให้พวกเราฟังหน่อยครับ “ผมขอเริ่มเรื่องจากคุณหลวงอนุสารสุนทร คุณหลวงมีเชื้อสายจีน ครอบครัวตั้งรกรากที่ประเทศไทยย้อนไปไกลถึงสมัยอยุธยา คุณหลวงถือว่าเป็นคนรุ่นที่ 4 แล้วครับ จากอยุธยาพอกรุงแตก คนรุ่นต่อๆ มาได้ย้ายไปอยู่ธนบุรี แล้วค่อยย้ายมาลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ คุณหลวงเกิดที่เมืองลำพูนริมฝั่งน้ำกวง อยู่ได้สักพักครอบครัวก็ย้ายไปค้าขายแถวสบทา และย้ายมาอยู่หน้าวัดเกตการาม เมืองเชียงใหม่ ตอนอยู่วัดเกตฯ ช่วงนั้นอายุอานามอยู่ในช่วงวัยรุ่น ได้ฝึกหัดซ่อมจักรยาน ตะเกียงลาน นาฬิกา ไปจนถึงพวกอาวุธปืน ไม่นานก็อพยพย้ายกันไปอยู่ฝั่งท่าแพ ช่วงอายุราวๆ 25-30 ปี คุณหลวงได้ล่องเรือลงไปค้าขายระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพ ตอนนั้นกิจการไปได้ด้วยดี จึงสร้างบ้านที่ถนนวิชยานนท์ คุณหลวงท่านจดบันทึกไว้ว่าได้ทำการค้าขายขึ้นลงเชียงใหม่-กรุงเทพกว่า 50 เที่ยว ในยุคนั้นการล่องเรือจากเหนือลงใต้ เชียงใหม่ไปกรุงเทพใช้เวลา 1 เดือน ขาขึ้นจากกรุงเทพกลับเชียงใหม่ใช้เวลา 2 เดือน แต่ละ1 ปี จะเดินทางได้ประมาณ 2 เที่ยว นอกจากกิจการค้าขายจะไปได้ด้วยดี คุณหลวงได้มีโอกาสเรียนถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์มกระจก ถือว่าเป็นคนถ่ายรูปคนแรกของเมืองเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ พอดีช่วงนั้นมีการสำรวจป่าไม้โดยกลุ่มช่างชาวตะวันตก ฝรั่งพวกนี้คือลูกจ้างที่ทางรัฐในรัชกาลที่ 5 จ้างมา กับกลุ่มมิชชันนารี…
San Pa Koinian (สันป่าข่อยเนี่ยน) เราเป็น ‘คนสันป่าข่อย’ กับชาวสันป่าข่อย ออม อิชยา อักษรโศภณพันธุ์
โครงการย่านสันป่าข่อยสร้างสรรค์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณออม อิชยา อักษรโศภณพันธุ์ คนสันป่าข่อยแท้ๆ เกิดและเติบโตที่นี่ และภูมิใจที่จะเรียกตนเองว่าเป็น “San Pa Koinian สันป่าข่อยเนี่ยน” (คนสันป่าข่อย) ลองมาฟังเรื่องราวความสันป่าข่อย ผ่านสายตา ความทรงจำ และความคิดของคนสันป่าข่อย บอกเล่าเรื่องราวจากใจของคนในที่อยากให้คนนอกร่วมทำความรู้จัก และหลงรักสันป่าข่อยไปกับเธอ ___ ขอเล่าย้อนไปถึงวัยเด็กสักหน่อย ตอนนั้นสันป่าข่อยเป็นอย่างไร ออมขอเล่าผ่านสายตาของคนอายุ 42 ปีนะคะ เกิดที่นี่ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ตลอด เรียกว่าน่าจะเห็นในทุกช่วงเวลาของสันป่าข่อยแต่ความทรงจำในวัยเด็กอาจจะตกหล่นบ้างค่ะ สรุปได้ 3 คำ คือ สงบ สะดวกสบาย ค้าขายดี ภาพจำคือความคึกคักในช่วงกลางวัน แต่ละร้านค้ามีลูกค้าเข้าออกตลอด แต่ในช่วงเย็นหลังเวลาปิดร้านก็มีความสงบ ที่สำคัญคือค่อนข้างสะดวกสบายค่ะเพราะบ้านเราอยู่ในเมืองจะเดินทางไปไหนก็ง่ายไปหมด ใกล้ตลาด ใกล้โรงเรียน ใกล้โรงพยาบาล ผู้ใหญ่พูดเรื่องนี้กรอกหูบ่อยครั้งจนจำได้ ถ้านับรุ่นแล้วออมเป็นทายาท รุ่นที่ 3 ที่อยู่ในย่านนี้ รุ่นแรกคืออากงที่เข้ามาตั้งรกรากค่ะ ตอนที่คุณอากงเข้ามา ท่านแวะที่ไหนบ้าง ก่อนจะมาถึงสันป่าข่อย อาม่าเคยเล่าให้ฟังว่า อากงเป็นชาวจีนแต้จิ๋วเข้ามาไทย โดยผ่านทางกัมพูชาแล้วมุ่งหน้าสู่ไทยผ่านทางจันทบุรี หรือ ตราด อันนี้ไม่แน่ใจเรื่องจังหวัดที่เข้ามานัก…
สันป่าข่อย
เมืองเชียงใหม่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี แต่เมืองเชียงใหม่ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่นั้นเกิดในพื้นที่ด้านตะวันออกของตัวเมืองตั้งแต่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำปิงตามแนวถนนเจริญเมืองไปจนถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ย่านนี้กลายเป็นต้นกำเนิดของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ ที่เป็นโครงข่ายพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเมืองสมัยใหม่และเป็นพื้นที่ที่เปิดรับกระแสการเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอกที่เริ่มต้นจากการเข้ามาของชาวตะวันตกซึ่งมีบริษัทรับสัมปทานตัดและค้าไม้สักของอังกฤษและมิชชันนารีอเมริกันซึ่งได้เริ่มตั้งถิ่นฐานในปี พ.ศ. 2407 เป็นต้นมาซึ่งมีผลทำให้มีชาวต่างชาติต่างถิ่นที่หลากหลายเข้ามาทำงานและประกอบธุรกิจ กับ ชุมชนชาวตะวันตกจนเกิดเป็นชุมชนใหม่ที่มีพลวัตในขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ย่านสันป่าข่อยและวัดเกตุจึงนับได้ว่าเป็นพื้นที่สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเมืองเชียงใหม่เพราะเป็นพื้นที่ในช่วงรอยต่อที่เมืองมีการพัฒนาจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นรัฐจารีต ประเทศราชเดิมภายใต้อาณาจักรอยุธยาหรือสยาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก เชียงใหม่จึงได้ก้าวไปสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคเหนือทั้งการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมในรัฐชาติสมัยใหม่ของประเทศสยามหรือประเทศไทยในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเชียงใหม่ ได้เริ่มต้นจากพื้นที่ริมแม่น้ำปิง ชุมชนสันป่าข่อยและวัดเกตุจนถึงปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาสำคัญ เชียงใหม่ภายใต้รัฐจารีตล้านนาและรัฐอาณานิคมตะวันตก: ต้นกำเนิดชุมชนทันสมัยริมแม่น้ำปิง พ.ศ. 2407-2440 การล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปัจจัยหลักต่อการเปลี่ยนแปลงของเชียงใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อ อังกฤษเข้ายึดพม่ารวมถึงหัวเมืองของไทใหญ่ที่ล้านนาถือเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสำเร็จและฝรั่งเศสเข้ายึด เวียดนาม ลาวและกัมพูชา และมีการตัดลากไม้สักจากพื้นที่ป่ารอยต่อของพม่ากับอาณาเขตของอาณาจักรล้านนา ไม้สักในป่ากลายเป็นสินค้าที่ต้องการในยุโรป อังกฤษจึงผลักดันให้สยามเข้ามาจัดการการปกครองล้านนาเพื่อการทำธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูงอย่างสัมปทานไม้สัก บริษัทค้าไม้บริติชบอเนียวซึ่งรับสัมปทานตัดไม้จากอังกฤษขยายตัวจากธุรกิจไม้ในประเทศเพื่อนบ้านได้เริ่มเข้ามาในเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2407[1] การติดต่อค้าขายเพิ่มมากขึ้นพร้อมกับข้อพิพาทที่มากด้วยเช่นกัน จนทำให้เกิดสัญญาเชียงใหม่ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2416) ที่อังกฤษและชาติตะวันตกได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในล้านนา จึงยอมรับอำนาจของสยามในการจัดการข้อพิพาทต่างๆและฉบับที่ 2 (พ.ศ.2426) มีการตั้งข้าหลวงจากสยามมาประจำ เพื่อจัดเก็บภาษีอากรและการจัดการป่าไม้ เป็นการดึงอำนาจบริหารจัดการเศรษฐกิจหลักออกจากอำนาจของเจ้าล้านนามาข้าราชการจากกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้การค้าขยายตัวมากขึ้นไปอีก บริษัทต่างชาติเหล่านี้ เช่น บริติชบอร์เนียว บอมเบย์เบอมาร์…